Translate แปลภาษา

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้

๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิก
ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว อย่าง
เคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความ
เสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก

๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า
อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา
เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิม
ของตัวกลองหมดสิ้นไปเหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น
โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.
เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำ
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะ
ทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-
มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วย
เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไป
ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์
กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว
ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี
เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้
เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร
ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้
หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน
ปฏิปุจฉาวินีตา.
ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา
เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อ
สุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก
อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้
ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะ เหล่าใด
อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง
ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง
ที่ควรศึกษา เล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว
ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น
อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้
หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง
ร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง
นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมา
กล่าวอยู่, เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า
เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ
ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย
เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

๑.พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด



๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด


อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการ
กล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิต
ดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคย
ได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๔๗

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน

๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกันภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลา
ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำ
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น
ประการอื่นเลย.
อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๘๕

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น

๗.

สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้นถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม


ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็น
มรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)
เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้
เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย
ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมา-
สัมพุทธะกับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๗๒๑

๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่
เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร
เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่
เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่
ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ
สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะ
รู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน
ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้.
ด้วยการ ทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้
ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทา ลงได้
ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ / ๒๙๒
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๒
 

๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา

๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรม
ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล
(อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
(โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒ / ๔๘๕ / ๔๕๐.
ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น. ๔๓๑

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม


  • เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
  • เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
  • เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
  • เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
  • เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
  • เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
  • เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

พุทธวจน


Posted by Picasa

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

อริย ญาย ธรรม คือ การ รู้ เรื่อง ปฏิจจ สมุป บาท

  • อริย ญาย ธรรม คือ การ รู้ เรื่อง ปฏิจจ สมุป บาท
  • ดู ก่อน คหบดี ! ก็ อริย ญาย ธรรม เป็น สิ่ง ที่ อริย สาวก เห็น แล้ว ด้วย ดี
  • แทง ตลอด แล้ว ด้วย ดี ด้วย ปัญญา เป็น อย่างไร เล่า ?
  • ดู ก่อน คหบดี ! อริย สาวก ใน ธรรม วินัย นี้ ย่อม พิจารณา เห็น โดย
  • ประจักษ์ ดังนี้ ว่า “ ด้วย อาการ อย่าง นี้ เพราะ สิ่ง นี้ มี , สิ่ง นี้ จึง มี ; เพราะ ความ
  • เกิด ขึ้น แห่ง สิ่ง นี้ , สิ่ง นี้ จึง เกิด ขึ้น . เพราะ สิ่ง นี้ ไม่มี , สิ่ง นี้ จึง ไม่มี ; เพราะ ความ
  • ดับ ไป แห่ง สิ่ง นี้ , สิ่ง นี้ จึง ดับ ไป : ข้อ นี้ ได้แก่ สิ่ง เหล่า นี้ คือ เพราะ มี อวิชชา เป็น
  • ปัจจัย จึง มี สังขาร ทั้ง หลาย ; เพราะ มี สังขาร เป็น ปัจจัย จึง มี วิญญาณ ; เพราะ
  • มี วิญญาณ เป็น ปัจจัย จึง มี นาม รูป ; เพราะ มี นาม รูป เป็น ปัจจัย จึง มีสฬาย ตนะ ;
  • เพ ราะ มีสฬาย ตนะ เป็น ปัจจัย จึง มี ผัสสะ ; เพราะ มี ผัสสะ เป็น ปัจจัย จึง มี
  • เวทนา ; เพราะ มี เวทนา เป็น ปัจจัย จึง มี ตัณหา ; เพราะ มี ตัณหา เป็น ปัจจัย จึง
  • มี อุปาทาน ; เพราะ มี อุปาทาน ปัจจัย จึง มี ภพ ; เพราะ มี ภพ เป็น ปัจจัย จึง มี
  • ชาติ ; เพราะ มี ชาติ เป็น ปัจจัย , ชรา มรณะ โสกะ ปริ เท วะ ทุกขะ โท มนัส อุปา-
  • ยาส ทั้ง หลาย จึง เกิด ขึ้น ครบ ถ้วน : ความ เกิด ขึ้น พร้อม แห่ง กอง ทุกข์ ทั้ง สิ้น นี้
  • ย่อม มี ด้วย อาการ อย่าง นี้ .
  • เพราะ ความ จาง คลาย ดับ ไป โดย ไม่ เหลือ แห่ง อวิชชา นั้น นั่น เทียว , จึง มี
  • ความ ดับ แห่ง สังขาร ; เพราะ มี ความ ดับ แห่ง สังขาร จึง มี ความ ดับ แห่ง วิญญาณ ;
  • เพราะ มี ความ ดับ แห่ง วิญญาณ จึง มี ความ ดับ แห่ง นาม รูป ; เพราะ มี ความ ดับ
  • แห่ง นาม รูป จึง มี ความ ดับ แห่ง สฬาย ตนะ ; เพราะ มี ความ ดับ แห่ง สฬาย ตนะ
  • จึง มี ความ ดับ แห่ง ผัส สะ ; เพราะ มี ความ แห่ง ผัส สะ จึง มี ความ ดับ แห่ง เวทนา ;
  • เพราะ มี ความ ดับ แห่ง เวทนา จึง มี ความ ดับ แห่ง ตัณหา ; เพราะ มี ความ ดับ แห่ง
  • ตัณหา จึง มี ความ ดับ แห่ง อุปาทาน ; เพราะ มี ความ ดับ แห่ง อุปาทาน จึง มี
  • ความ ดับ แห่ง ภพ ; เพราะ มี ความ ดับ แห่ง ภพ จึง มี ความ ดับ แห่ง ชาติ ; เพราะ
  • มี ความ ดับ แห่ง ชาติ นั่น แล ชรา มรณะ โสกะ ปริ เทวะ ทุกขะ โท มนัส อุปา ยาส ทั้ง
  • หลาย จึง ดับ สิ้น : ความ ดับ ลง แห่ง กอง ทุกข์ ทั้ง สิ้น นี้ ย่อม มี ด้วย อาการ อย่าง
  • นี้ .
  • ดู ก่อน คหบดี ! อริย ญาย ธรรม นี้ แล เป็น สิ่ง ที่ อริย สาวก เห็น แล้ว ด้วย
  • ดี แทง ตลอด แล้ว ด้วย ดี ด้วย ปัญญา .