Translate แปลภาษา

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความรัก๔ ประการ

ฌานระงับความรัก - เกลียดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ. สี่ประการอย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ความรักเกิดจากความรัก ความเกลียดเกิด จากความรัก ความรักเกิดจากความเกลียด ความเกลียดเกิดจากความเกลียด. ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคล พวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่า พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก. ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา น่ารักใคร่พอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคล เหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่า ปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้ เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจาก ความรัก. ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่า ปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วย อาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำ ความรักให้เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิด จากความเกลียด. ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนารักใคร่พอใจของบุคคล คนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่น่า ปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ ; บุคคลโน้นก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาอย่างนี้ ว่า “บุคคลเหล่านั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วย อาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ ; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความ เกลียดให้เกิดในบุคคลเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิด จากความเกลียด. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือธรรมารมณ์ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ. ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่; สมัยนั้น ความ รักใดที่เกิดจากความรัก ความรักนั้นก็ไม่มี, ความเกลียดใดที่เกิดจากความรัก ความเกลียดนั้นก็ไม่มี, ความรักใดที่เกิดจากความเกลียด ความรักนั้นก็ไม่มี, ความเกลียดใดที่เกิดจากความเกลียด ความเกลียดนั้นก็ไม่มี.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒-. หน้าที่ ๑๓๔๗-๑๓๔๘.

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระอริยบุคคลมีหลายระดับ เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน


ภาค ๓ - นิโรธอริยสัจ ๖๘๗
พระอริยบุคคลมีหลายระดับ
เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน
(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๕๖๓, ๕๖๕, ๖๐๔, ๖๐๕ และขุม.โอ. หน้า ๔๕๔)
ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่. ห้าประการ
อย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.
ภิกษุ ท. ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์แห่งอินทรีย์ห้าประการ
เหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี.
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.
 ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่ง
ผลย่อมมี เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ; เพราะความต่างแห่งผล จึงมีความต่าง
แห่งบุคคล แล.
ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า
ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ; ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน
ก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลายห้า ย่อม
ไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๗๑/๘๙๙-๙๐๐.